เทคนิค และ วิธีการแก้ไขปัญหา การจัดทำบัญชี
เทคนิคและวิธีการแก้ไขปัญหาการจัดทำบัญชี
ความเข้าใจพื้นฐาน ของการจัดทำบัญชี
การจัดทำบัญชีเพื่อลดข้อผิดพลาดและเทคนิคที่สามารถมาใช้ได้ในการตรวจสอบ
ความเข้าใจพื้นฐาน
1.งบการเงินต้องมีความน่าเชื่อถือ และแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร
2.หลักการพื้นฐานในการเรียนรู้รายการต้องเข้าเงื่อนไข
2.1 เกี่ยวข้องกับกิจการ และเกิดขึ้นจริง
2.2 วัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ เกณฑ์ในการวัดมูลค่า
- ราคาทุนเดิม (Historical Cost)
- ราคาทุนปัจจุบัน (Current Cost)
- มูลค่าที่จะได้รับ(จ่าย) (Realizable or Settlement Value)
- มูลค่าปัจจุบัน (Present Value)
3. เมื่อเข้าสู่การรับรู้รายการต้องเข้าใจ ดังนี้
- ความหมาย / การรับรู้ : สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย
- เกณฑ์คงค้าง และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
4. วงจรการจัดทำบัญชีต้องเข้าใจ ดังนี้
4.1 การรวบรวมข้อมูล เอกสาร
4.2 การวิเคราะห์รายการค้า
4.3 การบันทึกบัญชี ในสมุดบัญชี
4.4 การผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท แยกตามหมวดหมู่
4.5 จัดทำงบทดลองก่อนปรับปรุง
4.6 ตรวจสอบรายการปรับปรุง
4.7 บันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไปและผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท
4.8 จัดทำงบทดลองหลังปรับปรุง
4.9 จัดทำรายงานทางการเงิน
4.10 วิเคราะห์งบการเงิน สรุปผล เสนอรายงานแก่ผู้บริหาร
การจัดทำบัญชีเพื่อลดข้อผิดพลาด
1. ทบทวนรายการปรับปรุง
2. วางแผนการทำงาน วิเคราะห์ความเสี่ยง รายการทางบัญชีสำคัญ
3. พิจารณาระบบควบคุมภายในส่วนที่ควรได้รับการปรับปรุง
4. สร้างกระบวนการติดตามอย่างเป็นระบบ
- การเคลื่อนไหวทางธุรกิจ
- การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
- การเปลี่ยนแปลงทางภาษีอากร
5. ประสานกับผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นระยะ
6. สื่อสารกับผู้บริหาร
เทคนิคควรนำมาใช้ในการตรวจสอบ
- การตรวจดู (Inspection)
- การสังเกต (Observation)
- การตรวจนับ (Counting)
- การยืนยันยอด (Confirmation)
- การตรวจสอบเอกสารใบสำคัญ (Vouching)
- การคำนวณใหม่ (Recomputation)
- การตรวจสอบการผ่านรายการ (Posting)
- การตรวจหารายการผิดปกติ (Scanning)
- การสอบถาม (Inquiry)
- การติดตามรายการ (Tracing)
- การวิเคราะห์ เปรียบเทียบ (Analytical Tests)